Delcious Icecream

หน้าเว็บหลัก

วิชาคณิตศาสตร์






เรื่อง : เรขาคณิต








 

                       เรื่อง เลขโรมัน
 
                 
                   ตัวเลขในโรมัน
1=I
5=V
10=X 
50=L
100=C
500=D 
1,000=M
5,000=V
10,000=X
50,000=L
100,000=C
 500,000=D
1,000,000=M



















วิชาภาษาไทย

คำ สรรพนาม หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่นคำว่า ฉัน เรา ดิฉัน กระผม กู คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น อะไร ใคร บ้าง เป็นต้น
 สรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด ดังนี้

๑. บุรษสรรพนาม คือ คำ สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด แบ่งเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด คือ

๑.๑ สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ผม ฉัน ดิฉัน กระผม ข้าพเจ้า กู เรา ข้าพระพุทธเจ้า อาตมา หม่อมฉัน เกล้ากระหม่อม

๑.๒ สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้ฟัง หรือผู้ที่เราพูดด้วย เช่น คุณ เธอ ใต้เท้า ท่าน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฝ่าพระบาท พระคุณเจ้า

๑.๓ สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เขา มัน ท่าน พระองค์

๒. ประพันธสรรพนาม คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามและใช้เชื่อมประโยคทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้มีความ สัมพันธ์กัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้

๓. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจงหรือบอกกำหนดความให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น

๔. อนิยมสรรนาม คือ สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป ได้แก่คำว่า อะไร ใคร ไหน ได บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ เช่น ใครๆ อะไรๆ ไหนๆ

๕. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้นจำแนกออกเป็นหลายส่วน ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน เช่น

– นักเรียน”บ้าง”เรียน”บ้าง”เล่น – นักเรียน”ต่าง”ก็อ่านหนังสือ

๖. ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า อะไร ใคร ไหน ผู้ใด สิ่งใด ผู้ใด ฯลฯ เช่น

– “ใคร” ทำแก้วแตก – เขาไปที่ “ไหน”

หน้าที่ของคำสรรพนาม มีดังนี้คีอ

๑. เป็นประธานของประโยค เช่น

– “เขา”ไปโรงเรียน – “ใคร”ทำดินสอตกอยู่บนพื้น

๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค (ผู้ถูกกระทำ) เช่น

– ครูจะตี”เธอ”ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน – คุณช่วยเอา”นี่”ไปเก็บได้ไหม

๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์ เช่น

– กำนันคนใหม่ของตำบลนี้คือ”เขา”นั่นเอง – เขาเป็น”ใคร”

๔. ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน เช่น

– ครูชมเชยนักเรียน”ที่”ขยัน

๕. ทำหน้าที่ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นการแสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม


คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ เช่นคำว่า กิน เดิน นั่ง นอน เล่น จับ เขียน อ่าน เป็น คือ ถูก คล้าย เป็นต้น


ชนิดของคำกริยา
คำกริยาแบ่งเป็น ๕ ชนิด
๑. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เข้าใจได้ เช่น
                            - เขา"ยืน"อยู่ - น้อง"นอน"
๒. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น
                            - ฉัน "กิน"ข้าว (ข้าวเป็นกรรมที่มารับคำว่ากิน)
                            - เขา"เห็น"นก (นกเป็นกรรมที่มารับคำว่าเห็น)
๓. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ คำกริยาพวกนี้คือ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ เช่น
                             - เขา"เป็น"นักเรียน - เขา"คือ"ครูของฉันเอง
๔. กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่คำว่า จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่น
                       - นายดำ"จะ"ไปโรงเรียน - เขา"ถูก"ตี
๕. กริยาสภาวมาลา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
- "นอน"หลับเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอน เป็นคำกริยาที่เป็นประธานของประโยค)

 - ฉันชอบไป"เที่ยว"กับเธอ (เที่ยว เป็นคำกริยาที่เป็นกรรมของประโยค



คำบุพบท หมายถึง คำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำนั้นให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
 
ชนิดของคำบุพบท

    หลักภาษาไทยได้แบ่งคำบุพบทออกเป็น ชนิด ดังนี้

                   ๑. คำบุพบทบอกสถานที่ ได้แก่คำว่า ใต้ บน ริม ชิด ใกล้ ไกล ที่ นอก ใน เช่น

                          เสื้อสีขาวอยู่ในตู้เสื้อผ้า

                          เขาขายส้มตำอยู่ใกล้สถานีตำรวจ

                   ๒. คำบุพบทบอกเวลา ได้แก่คำว่า แต่ ตั้งแต่ ณ เมื่อ จน จนกระทั่ง เช่น

                          เขาอ่านหนังสือจนดึก

                          คุณพ่อไปทำงานแต่เช้า

                   ๓. คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ ได้แก่คำว่า แห่ง ของ เช่น

                          เขาทำงานอยู่วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

                          เงินของฉันหาย

                   ๔. คำบุพบทบอกที่มาหรือสาเหตุ ได้แก่คำว่า แต่ จาก กว่า เหตุ ตั้งแต่ เช่น

                          คุณแม่ซื้อผักมาจากตลาด

                          ชาวนาเดินมาตั้งแต่ที่นาถึงบ้าน

                   ๕. คำบุพบทบอกฐานะเป็นผู้รับ ได้แก่คำว่า เพื่อ ต่อ แก่ แด่ เฉพาะ สำหรับ เช่น

                          ฉันทำทุกอย่างเพื่อแม่

                          เขาถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์

                   ๖. คำบุพบทบอกฐานะเครื่องใช้ หรือติดต่อกัน ได้แก่คำว่า โดย ด้วย อัน ตาม กับ เช่น

                          เขาเดินทางโดยสวัสดิภาพ

                          เขาทำตามคำสั่ง

หน้าที่ของคำบุพบท

               ๑. นำหน้าคำนาม เช่น 

                   นักเรียนอยู่ในโรงเรียน = ใน เป็นคำบุพบท นำหน้าคำนาม โรงเรียน

               ๒. นำหน้าคำสรรพนาม เช่น

                   ฉันจะไปกับเธอ = กับ เป็นคำบุพบท นำหน้าสรรพนาม เธอ

               ๓. นำหน้าคำกริยา เช่น

                   เขาหยุดพักทำงานเพื่อนอน = เพื่อ เป็นคำบุพบท นำหน้ากริยา นอน

               ๔. นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น

                   เธอต้องพูดไปตามจริง = ตาม เป็นคำบุพบท นำหน้าวิเศษณ์ จริง

               ๕. นำหน้าประโยค เช่น

                          ครูลบกระดานเพื่อลอกโจทย์ข้อใหม่ 

                          = เพื่อ เป็นคำบุพบท นำหน้าประโยค ครูลอกโจทย์ข้อใหม่






















วิชาลูกเสือ


การเข้าค่ายลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1


 ประโยชน์จากการเข้าค่าย: -ฝึกความอดทน
                                            -ฝึกความสามัคคี
                                             -ความเป็นระเบียบ มีวินัย








วิชาคณิตศาสตร์

เรื่อง : เรขาคณิต                           เรื่อง เลขโรมัน                                         ตัวเลขในโรมัน 1=I 5=V 10=X  50=L 100=...